ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการพัฒนาสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร
แนวทางการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนา ดังนี้
1. ปรับปรุงเส้นทางคมนาคมภายในหมู่บ้าน ระหว่างหมู่บ้านต่อหมู่บ้าน ตำบลกับอำเภอ โดยให้มี เส้นทางที่ได้มาตรฐาน เพื่อใช้สัญจรไปมาได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัย เพื่อประโยชน์ในการเดินทาง การขนส่งผลผลิตทางการเกษตรและขนส่งสินค้า การติดต่อกับหน่วยงานราชการ เพื่อส่งเสริมการลงทุน 2. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค เช่น จัดให้มีระบบประปา เพื่อให้ประชาชนได้มีน้ำอุปโภค - บริโภคที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้ เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรมของประชาชนอย่างคุ้มค่าและทั่วถึง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเต็มที่ในการฟื้นฟู อนุรักษ์แหล่งกักเก็บน้ำ คูคลองส่งน้ำ คุณภาพน้ำ และชลประทานระบบท่อ รวมทั้งควบคุมดูแลการใช้น้ำผิวดิน และน้ำใต้ดินให้เกิดประสิทธิภาพ 3. ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน โดยการจัดการพลังงานและเทคโนโลยีที่เหมาะสมและพลังงานทดแทน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการพัฒนาสังคม
ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาดังนี้
- ด้านสาธารณสุขและสุขภาพ
เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลที่จะพัฒนาคนให้สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา รวมทั้งเสริมสร้างสังคมให้เข้มแข็งและยั่งยืน จึงขอเสนอแนวทางดังนี้ 1. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมสร้างสุขภาพที่ดีแก่ประชาชน 2. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างประกันด้านสุขภาพให้ทั่วถึง 3. ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างสุขภาพที่ดี การป้องกันโรค การป้องกันอุบัติเหตุ และการป้องกันการเสพยาเสพติด 4. สนับสนุนการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ สร้างกิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพ และสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายควบคุมป้องกันโรคในแต่ละพื้นที่
- ด้านการศึกษา
เร่งพัฒนาระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ดังนี้ 1. ส่งเสริมให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมี คุณภาพ 2. สนับสนุนส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้บริการความรู้แก่ประชาชน ในตำบลวังแดง 3. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีกิจกรรม เพื่อให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 4. ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการห้องสมุดสำหรับประชาชนภายในตำบลวังแดงเพื่อใช้เป็นศูนย์กลางให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในการค้นคว้าหาความรู้ 5. ส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อการเรียนรู้ในทุกสาขาอาชีพ เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการพึ่งตนเอง
- ด้านการกีฬาและศาสนา
1. ส่งเสริมกิจกรรมกีฬาระดับชุมชนและโรงเรียน เพื่อส่งเสริมสุขภาพและเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนากีฬาไปในระดับที่สูงขึ้น โดยสนับสนุนบทบาทของเอกชน และ ประชาชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการกีฬา2. ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการปลูกฝังค่านิยมที่ดีต่อการกีฬาให้แก่เยาวชน 3. จัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬา เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และระหว่างหน่วยงานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและเครือข่ายระหว่างจังหวัด 4. ส่งเสริมให้ประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีสุขภาพแข็งแรง โดยจัดให้มีสถานที่ออกกำลังกายมีอุปกรณ์กีฬา เพื่อใช้ออกกำลังกายอย่างเพียงพอและทั่วถึง 5. ส่งเสริมและสนับสนุนศาสนศึกษา การเผยแพร่ศาสนา รวมทั้งสนับสนุนให้มีการพัฒนาศาสนสถานให้สะอาด ร่มเย็นและสงบสุข เพื่อให้เป็นประโยชน์ด้านจิตใจต่อชุมชนสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษาศาสนธรรม และร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนามากขึ้น โดยเฉพาะกับสมาชิกในครอบครัว 6. ส่งเสริมให้ศาสนิกชนได้ร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้รักท้องถิ่น
- ด้านการป้องกันยาเสพติด
1. สร้างเครือข่ายเด็กและเยาวชนให้มีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น ห่างไกลยาเสพติด และสามารถรณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดไปยังกลุ่มเป้าหมายอื่น ต่อ ๆ ไป 2. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดระเบียบเด็กนักเรียนและเยาวชนจัดตั้งกลุ่มอาสาแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนให้ทุกคนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแล และป้องกันปัญหายาเสพติด 3. ด้านครอบครัว เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง มีนโยบายที่จะสร้างครอบครัวให้อบอุ่นและเข้มแข็ง เป็นหน่วยพื้นฐานในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และเป็นภูมิคุ้มกันจากปัญหาสังคมแก่สมาชิก ทุกวัยในครอบครัว ภายใต้คำขวัญที่ว่า ครอบครัวผาสุก สู่สังคมดี โดยมีแนวทางดังนี้ 4. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายครอบครัวผาสุก โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาและบริการต่าง ๆ เกี่ยวกับครอบครัว ทั้งด้านสุขภาพ การวางแผน และแก้ไขปัญหาครอบครัว 5. สนับสนุนให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานในชุมชน 6. ส่งเสริมสิทธิ สถานภาพ และบทบาทของสตรี การพัฒนาศักยภาพของสตรีให้สามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น 7. ให้หลักประกันแก่ผู้สูงอายุ พัฒนาบริการสุขภาพอนามัย รวมทั้งนำประสบการณ์ และภูมิปัญญาของผู้สูงอายุมาร่วมพัฒนาท้องถิ่น 8. ให้การสงเคราะห์ และการสนับสนุนการพัฒนาแก่ผู้ยากไร้ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส คนชรา ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถพึ่งตนเองได้
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ
ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาดังนี้ ฝ่ายบริหารมีเป้าหมายที่จะดำเนินนโยบายเพื่อลดความยากจน นำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ ลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย นำไปสู่การพอมีพอกิน ให้ประชาชนใช้ทุนทางปัญญา ศักยภาพส่วนตัว และสินทรัพย์ที่มีอยู่ทำงานอย่างเต็มที่ นโยบายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจที่จะนำเสนอมีดังนี้ การพัฒนาอาชีพ
- ส่งเสริมแนวทางการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ โดยจะส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามศักยภาพของชุมชน ตั้งแต่การผลิตเพื่อการบริโภค นำผลผลิตที่เหลือออกจำหน่าย เพื่อสร้างรายได้ให้ครอบครัว ส่งเสริมการรวมตัว เพื่อดำเนินเศรษฐกิจระดับชุมชน
- ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จากที่ดินทำกินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการวางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดการใช้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชอื่นหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าว
- มุ่งพัฒนาการผลิตภาคชนบทและสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจชุมชน โดยเชื่อมโยงการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรกับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
- ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการแปรรูปผลผลิตการเกษตรและพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน รูปแบบ และบรรจุภัณฑ์ของผลผลิต
- ส่งเสริมการลงทุนเกษตรอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรม โดยคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติที่ท้องถิ่นมีอยู่ ทักษะ ฝีมือ ภูมิปัญญาไทย ศักยภาพในการผลิตและการตลาด โดยจัดตั้งศูนย์ข้อมูลส่งเสริมการลงทุน ประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักลงทุน เตรียมความพร้อมเพื่อการลงทุน
- ส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมด้านอาชีพสาขาต่าง ๆ ตามความต้องการของท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีบทบาทในการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดภูมิทัศน์ในทุกชุมชนให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในชุมชน 2. ส่งเสริมการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ลุ่มน้ำ ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ แบบบูรณาการ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม 3. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในการควบคุมและกำจัดมลภาวะที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน 4. สนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มความสามารถของชุมชนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติทุกแหล่ง รวมถึงการนำสิ่งของหรือเศษวัสดุเหลือใช้มาใช้ใหม่
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร
องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงมีนโยบายที่จะพัฒนาการเมืองการบริหารไปสู่รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ของตนเอง รวมทั้งมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างความโปร่งใสในการบริหาร และการให้บริการประชาชน โดยมีแนวทางดังนี้
1. ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มของประชาชนขึ้นเป็นองค์กรประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ และส่งเสริมให้องค์กรประชาชนสามารถมีกิจกรรมทางการเมือง รวมทั้งมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและประเมินผลในโครงการสำคัญที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม การตรวจสอบการทำงานภาครัฐและการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสำคัญ 2. สร้างเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อประสานการพัฒนาท้องถิ่นให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน 3. ส่งเสริมการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่น และการกระจายอำนาจทางการคลังลง สู่ท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถจัดการบริหารงบประมาณของตนเองได้อย่างอิสระมากขึ้น 4. ส่งเสริมให้ประชาชน ภาคประชาสังคม และองค์กรเอกชนมีส่วนร่วมในการ ปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งจัดให้มีการตรวจสอบ ประเมินผลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง 5. ส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความเอื้ออาทร และสมานฉันท์ ตามแนวทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 6. สนับสนุนการกระจายอำนาจให้แก่ชุมชนท้องถิ่นให้สามารถปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของคนท้องถิ่ 7. ส่งเสริมสนับสนุนการให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตยแก่ประชาชนในท้องถิ่น 8. กำหนดมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรมสำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ 9. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ 10. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารองค์กรสู่ระบบบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
|