เฟสบุ๊คอบต.วังแดง

หน้าแรก
ประวัติความเป็นมา
วิสัยทัศน์ /พันธกิจ
ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
อำนาจหน้าที่อบต.วังแดง
ประเพณีวัฒนธรรม
สถานที่สำคัญ
ที่ทำการ อบต.วังแดง

โครงสร้างอบต.วังแดง
โครงสร้างส่วนราชการ
คณะผู้บริหาร อบต.วังแดง
สมาชิกสภา อบต.วังแดง
สำนักปลัด
อำนาจหน้าที่-สำนักปลัด
กองคลัง
อำนาจหน้าที่-กองคลัง
กองช่าง
อำนาจหน้าที่-กองช่าง

นโยบายคุ้มครองข้อมูล
    ส่วนบุคคล

ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
แผนดำเนินการประจำปี
รายงานการกำกับติดตาม
    การดำเนินงานรอบ 6 เดือน

รายงานผลการดำเนินงาน
    ประจำปี

แผนการใช้จ่ายงบประมาณ
    รายจ่ายรายปี

รายงานการกำกับติดตามการใช้
   จ่ายงบประมาณรอบ 6 เดือน

รายงานผลการใช้จ่าย
    งบประมาณประจำปี

คู่มือหรือมาตรฐาน
    การให้บริการ

คู่มือหรือมาตรฐาน
    การปฎิบัติงาน

ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
รายงานผลสำรวจความพึงพอใจ
    การให้บริการ

แผนการจัดหาพัสดุ
ผลประกาศสอบราคา/
     ผลการจัดซื้อจัดจ้าง

สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง
      รายเดือน(สขร.1)

รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง
      รายปี(สขร.)

นโยบายการบริหาร
     ทรัพยากรบุคคล

การดำเนินการตามนโยบาย
    การบริหารทรัพยากรบุคคล

หลักเกณฑ์การบริหารและ
    พัฒนาทรัพยากรบุคคล

รายงานผลการบริหารและ
    พัฒนาบุคลากรประจำปี

แผนอัตรากำลังหรือ
     แผนพัฒนาบุคลากร

แนวทางการปฎิบัติการจัดการ
    เรื่องร้องเรียนการทุจริตและ
    ประพฤติมิชอบ

ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียน
    การทุจริตและประพฤติมิชอบ

ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียน
    การทุจริตและประพฤติมิชอบ

ประกาศเจตนารมณ์นโยบาย
     No Gift Polity

กาสร้างวัฒนธรรม
    No Gift Polity

รายงานผลตามนโยบาย
    No Gift Polity

การประเมินความเสี่ยงการ
  ทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี

การดำเนินการเพิ่อจัดการความ
 เสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ

แผนปฎิบัติการป้องกันทุจริต
    ประจำปี

รายงานการกำกับติดตามการ
    ป้องกันการทุจริตรอบ 6 เดือน

รายงานผลการดำเนินการป้องกัน
    ทุจริตประจำปี

งานกิจการสภาอบต.บางปลาม้า
การแถลงนโยบายต่อสภา
กำหนดสมัยประชุมสภาฯ
ประกาศเรียกประชุมสภาฯ
รายงานประชุมผู้บริหารอบต.
รายงานประชุมสภา อบต.
การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
ประมวลจริยธรรมสำหรับ
    เจ้าหน้าที่ของรัฐ

การขับเคลื่อนจริยธรรม
ประเมินจริยธรรมของ
    เจ้าหน้าที่รัฐ

มาตรการส่งเสริมความโปร่งใส
    ในการจัดซื้อจัดจ้าง

มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและ
    ความโปร่งใสภายในหน่วยงาน

การดำเนินการตามมาตราการ
 ส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส

รายงานการประเมินผลแผน
รายงานการจัดเก็บรายได้
รายงานการเงินประจำปี
รายงานการประชุมประชาคม
กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน
อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน
อาสาสมัคร อปพร.
สภาเด็กและเยาวชน
องค์ความรู้ที่ใช้ในองค์กร
ระเบียบการรับบริการต่างๆ
กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ/ผู้พิการ
กองทุนหลักประกันสุขภาพ
บริการประชาชน
แบบคำร้องทั่วไป
ศูนย์ร้องเรียนการทุจริต
ศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียน
ศูนย์แสดงความคิดเห็น
     ของประชาชน

แบบวัดความพึงพอใจ
ผู้ดูแลระบบ
เช็คอีเมล์
Visited :
เริ่มนับตั้งแต่
วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553
หน้าหลัก ข่าว กิจกรรม สินค้า OTOP กระดานสนทนา ท่องเที่ยว ติดต่อ อบต.
 
  เบี้งยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการ อบต.วังแดง: www.wangdaeng.go.th
 
     
 
 
  โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการ

  • หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพื่อให้การดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นไปด้วยความเรียบร้อย คล่องตัว สะดวกรวดเร็ว บรรลุวัตถุประสงค์และเกิดประสิทธิผลสูงสุดจึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ ดังนี้

     1. ขั้นตอนการจดทะเบียนเพื่อขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยให้สำนักงานเขตดำเนินการ ดันี้                        
        1.1 จัดทำประกาศและประชาสัมพันธ์เขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้ผู้ที่จะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปในปีงบประมาณถัดไปมาจดทะเบียนเพื่อขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปีงบประมาณถัดไป ภายในเดือนตุลาคม – เดือนพฤศจิกาบนของทุกปี
        1.2 กำหนดวันรับจดทะเบียนผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปีงบประมาณถัดไปภายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
        1.3 ตรวจสอบรายชื่อ/คุณสมบัติ/หลักฐานผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปีงบประมาณถัดไป ภายในเดือนธันวาคม
             ของทุกปี
        1.4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปีงบประมาณถัดไป ภายในวันที่ 7 มกราคมของทุกปี
        1.5 รวบรวมจำนวนผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปีงบประมาณถัดไป ส่งให้อภายในวันที่ 14 มกราคมของทุกปี
        1.6 เริ่มจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ตั้งแต่เดือนตุลาคมของทุกปีเป็นต้นไป
    2.  คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
       
     2.1 มีสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน
         2.2 มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป (ในกรณีที่ทะเบียนราษฎร์ระบุเฉพาะปีเกิดให้ถือว่าบุคคลนั้นเกิดในวันที่1 มกราคมของปีนั้น
         2.3 ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ ยกเว้นผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยและระเบียบกรุงเทพมหานคร
    3.  ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด ซึ่งต้องมาด้วยตนเองหรือในกรณีมีความจำเป็นไม่สามารถมาจดทะเบียนด้วยตนเองได้ ผู้สูงอายุสามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนได้ โดยต้องกรอกรายละเอียดในแบบคำขอขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (เอกสารหมายเลข 1) และต้องนำหลักฐานเอกสารแสดงตน ดังนี้
         
    3.1 บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย พร้อมสำเนา
          3.2 ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา
          3.3 สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมสำเนา สำหรับในกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประสงค์ขอรับเงินผ่านธนาคาร
          3.4 หนังสือมอบอำนาจ (เอกสารหมายเลข 2) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ในกรณียื่นคำขอขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทน)
    ปฏิทินขั้นตอนการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
    1. หลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
        1.1 ขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่  ประกอบด้วย          
             1) จัดทำประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุทราบสิทธิของตนเอง          
             2) ลงทะเบียนตามวัน เวลา สถานที่ที่กำหนด (ในวันและเวลาราชการ)          
             3) ให้ผู้สูงอายุละทะเบียน ตามแบบที่กำหนด (แบบคำขอขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ) ด้วยตนเอง หรือในกรณีมีความจำเป็นไม่สามารถมาลงทะเบียนด้วยตนเองได้ ผู้สูงอายุสามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนได้          
             4) ตรวจสอบหลักฐาน/คุณสมบัติผู้มีสิทธิจากข้อมูลทะเบียนราษฎร         
             5) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (บริเวณสำนักงานเขต)         
             6) รวบรวมจำนวนผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ส่งให้สำนักพัฒนาสังคมกรุงเทพมหานคร ภายในวันที่ 14 มกราคม ของทุกปี         
             7) การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จ่ายเป็นรายเดือน ๆ  โดยมี 2 แนวทาง ดังนี้" โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นลายลักษณ์อักษร
    1.2 ขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย          
             1) ผู้ยื่นคำขอ หมายถึง ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุซึ่งต้องมาด้วยตนเอง หรือในกรณีมีความจำเป็นไม่สามารถมาลงทะเบียนด้วยตนเองได้ ผู้สูงอายุสามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนได้          
             2) กรอกในคำขอตามแบบที่กำหนด และยื่นคำขอต่อผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 พฤศจิกายนของทุกปี ในวันและเวลาราชการ ณ สถานที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด          
             3) หลักฐานประกอบการจดทะเบียน มีดังนี้" บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย พร้อมสำเนา" ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา" สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมสำเนา สำหรับในกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประสงค์ขอรับเงินผ่าน     ในกรณีมีความจำเป็นที่ไม่สามารถมาลงทะเบียนได้ ผู้สูงอายุอาจมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนก็ได้        ในกรณีผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพย้ายทะเบียนบ้าน หากมีความประสงค์จะรับเบี้ยยังชีพต้องลงทะเบียนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ใหม่ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยจ่ายเดิมต้องดำเนินการจ่ายจนสิ้นสุดปีงบประมาณนั้น ๆ ไป" หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ(ในกรณียื่นคำขอฯ แทน)         
             4) การแจ้งความจำนงรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ประกอบด้วย" โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นลายลักษณ์อักษร
    ถาม-ตอบไขข้อข้องใจ
             ถาม - กรณีผู้สูงอายุย้ายทะเบียนบ้านและไปลงทะเบียนใหม่ โดยรับเงินซ้ำซ้อน ซึ่งสำนักงานเขตได้ทำหนังสือทวงถามแต่ไม่นำเงินส่งคืน อบต. จะสามารถดำเนินการได้อย่างไรและโดยวิธีใด
             ถาม - กรณีผู้สูงอายุเสียชีวิตลงและตรวจสอบพบในภายหลัง ซึ่งสำนักงานเขตได้มีหนังสือทวงถามขอให้นำเงินส่งคืนสำนักงานเขต โดยมีผลในเดือนที่ผู้สูงอายุได้เสียชีวิตลง ซึ่งทายาทบางรายได้รับทราบ แต่ไม่มาติดต่อส่งเงินคืน สำนักงานเขตจึงได้ขออายัดเงินในบัญชีของผู้สูงอายุที่เสียชีวิตหรือของผู้รับมอบอำนาจ โดยขอให้ธนาคารดำเนินการอายัดเงินในบัญชีเงินฝากผู้สูอายุที่เสียชีวิตหรือของผู้รับมอบอำนาจ ซึ่งสามารถดำเนินการได้เป็นบางรายแต่บางรายไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากทายาทได้ถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากไปแล้ว จะสามารถดำเนินการได้อย่างไร และโดยวิธีใด
              ตอบ  สำนักงานกฎหมายและคดีพิจารณาแล้วเห็นว่า ในการเบิกจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต้องดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติการเบิกจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้อนุมัติเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งผู้สูงอายุต้องมารับเงินด้วยตนเองหรือหากไม่สามารถมาได้ต้องมอบฉันทะให้ผู้อื่นมารับ หรือเป็นการโอนเงินเข้าบัญชีผู้สูงอายุหรือบัญชีของผู้รับมอบหมายและให้ระงับการจ่ายเงินเมื่อผู้สูงอายุถึงแก่กรรม โดยฝ่ายทะเบียนต้องสรุปรายงานผู้สูงอายุที่ถึงแก่กรรมให้ฝ่ายพัฒนาชุมชนทุกวันที่ 1 ของเดือน เพื่อตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิและใช้เป็นหลักฐานประกอบฎีกาเบิกจ่ายเงิน ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้สูงอายุเสียชีวิตลงจึงต้องระงับการจ่ายเงินหากมีการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพไปแล้ว ต้องฟ้องร้องเรียกติดตามเอาคืนจากทายาทหรือผู้ที่ได้รับมอบฉันทะ เช่นเดียวกับผู้สูงอายุย้ายทะเบียนบ้านและไปลงทะเบียนใหม่ก็สามารถฟ้องเรียกติดตามเอาทรัพย์คืนได้เช่นกัน โดยสำนักงานเขตต้องมีหนังสือทวงถามไปยังผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ ผู้รับมอบฉันทะ หรือทายาท ให้ส่งเงินคืนภายในเวลาที่กำหนด เมื่อครบกำหนดระยะเวลาแล้วไม่มีการส่งเงินคืน ก็ให้ส่งเรื่องให้สำนักงานกฎหมายและคดีดำเนินการ.
             ถาม - ผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพ จะลงทะเบียนได้เมื่อไรและจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพย้อนหลังหรือไม่
               ตอบ ผู้สูงอายุที่มีอายุครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์และยังไม่เคยลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพรวมถึงผู้สูงอายุที่จะมีอายุครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ในปี ๒๕๕๖ (เกิดก่อน ๑ ตุลาคม ๒๔๙๕) สามารถไปลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพได้ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ น.ถึง เวลา ๑๖.๐๐ น. เว้นวันหยุดราชการ
              เอกสารที่ต้องเตรียมไปมีดังนี้กรณีผู้สูงอายุไปยื่นเรื่องเอง
              ๑.      บัตรประชาชนใบจริงพร้อมสำเนา ๑ ฉบับ ของผู้สูงอายุและเซ็นรับรองสำเนา
              ๒.      ทะเบียนบ้านฉบับจริงพร้อมสำเนา ๑ ฉบับ ของผู้สูงอายุและเซ็นรับรองสำเนา
              ๓.      สมุดเงินฝากธนาคารกรุงไทยประเภทออมทรัพย์ฉบับจริงพร้อมสำเนา ๑ ฉบับกรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นยื่นแทน   ผู้สูงอายุต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากผู้สูงอายุให้ผู้อื่นยื่นแทนพร้อมพยานเซ็นรับอง ๒ คน และเอกสารบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจทั้งใบจริงและสำเนา  หากโอนเข้าบัญชีของผู้รับมอบอำนาจต้องมีสำเนาสมุดเงินฝากธนาคารกรุงไทยประเภทออมทรัพย์ มายื่นด้วย
             หมายเหตุ          สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารต้องเป็นประเภทออมทรัพย์เท่านั้น
             ถาม -  ผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพสามารถเปลี่ยนแปลงการรับเงินได้หรือไม่
             ตอบ   สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยขอรับเอกสารใบขอเปลี่ยนแปลงสิทธิการรับเงินได้ที่ฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ ชั้น ๓ เขตบางกอกน้อย และกรอกข้อความในเอกสารให้ครบถ้วนพร้อมแนบ เอกสารดังนี้
               ๑.      บัตรประชาชนของผู้สูงอายุใบจริงและสำเนา
               ๒.      บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบใบจริงพร้อมสำเนา
               ๓.       หนังสือมอบอำนาจ กรณีโอนเงินเบี้ยยังชีพเข้าบัญชีของผู้รับมอบ
               ๔.      สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ ของผู้สูงอายุเองหรือของผู้รับมอบแล้วแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่   นักพัฒนาชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงโทร ๐ 3576 2111    ในวันและเวลาราชการ

  • รายชื่อผู้ที่มีสิทธิ์รับเบี้ยยังผู้สูงอายุ

  • รายชื่อผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินเบี้ยยังชีพ-90-ปีขึ้นไป.pdf
  •